Vibration คืออะไร สำคัญอย่างไร ?
ทำความรู้จักกับ ความสั่นสะเทือน (Vibration)
ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ หรือการสั่นสะเทือนของลำโพง เป็นต้น เครื่องจักรหรือมอเตอร์ในอุตสาหกรรมทุกชนิด จะมีความสั่นที่บ่งบอกถึงสภาพของเครื่องจักร ถ้าค่าความสั่นที่วัดได้มีค่าสูง อาจมีสาเหตุมาจากเครื่องจักรเกิดความไม่สมดุล (Ulbarance) หรือเกิดจากการ เยื้องศูนย์ ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้ อาจทำให้เกิดเหตุการ Breakdown ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตโดยตรง
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน
• ชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการตรวจสอบคุณภาพ เช่น น้ำหนักของอุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นไม่เท่ากัน ระยะการจัดวาง และการเยื้องศูนย์
• การบิดงอหรือเสียรูปทรงของชิ้นส่วนเนื่องจากการใช้งานมานาน
• การเกาะตัวของวัตถุที่ไม่ต้องการบนส่วนของเครื่องจักร ทำให้เกิด ความไม่สมดุล (Unbalance) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร Vibration
1. เกิดเสียหายหรือมีการสึกหรอที่ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจักร
ความเสียหายที่เกิดจาก ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) การสึกหรอของเครื่องจักร ชิ้นส่วนที่มีปัญหาทำให้เกิดการผิดปกติของเครื่องจักร เช่น คัปปลิ้ง, ตลับลูกปืน, สายพาน หรือพวกซีลต่างๆ
2.จุดยึดมีการขยับเนื่องจากความล้า
เมื่อเกิดการเยื้องศูนย์ขึ้น จุดยึดต่างๆเช่น ท่อ หรือฐานของเครื่องจักร จะมีเกิดความเค้นและความเครียดขึ้น ทำให้เห็นว่าจุดยึดขยับไปมา ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ และแก้ไขได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องตรวจเช็ค เครื่องจักรเป็นประจำเสมอๆ
3.แผ่นชิม (Shims) สามารถหลุดออกมาได้ง่าย
เมื่อขาของมอเตอร์มีความล้าสะสมและมีการโก่งขึ้นจนแผ่นชิมหลุดออกมาหรือสามารถถอดแผ่นชิมออกมาได้อย่างง่ายดาย และยังเป็นสัญญาณของการเกิด Soft foot ด้วย
การวัดการสั่นสะเทือน มีอะไรบ้าง
การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)
การวัดความเร็ว (Velocity)
การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)
• นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว
• วัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)
• ใช้กับการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วรอบต่ำ ๆ ระหว่าง 1000-1200 RPM หรือ ประมาณ 20 Hz
• เป็นการวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สั่นสะเทือน “มีความเร็ว เท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน”
• โดยปกตินิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาที และนิ้ว/วินาที ในการวัดความเร็วเรามักจะวัดแบบ RMS
• วัดการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20Hz -1,000Hz (หรือความเร็วรอบในการหมุนที่สูงกว่า 1, 200 rpm)
•การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อ
หน่วยเวลาของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือน
•วัดการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงคือตั ้งแต่ 10,000 Hz ขึ ้นไป
•การสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงนั ้นระยะทางการเคลื่อนที่จะน้อยและ
ใน ขณะเดียวกันความเร็วในการเคลื่อนที่จะสูงมาก
กราฟ FFT Spactrum คืออะไร
คือการวิเคราะห์กราฟเชิงความถี่ ซึ่งสามารถช่วยให้แยกแยะปัญหา ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) หรือตรวจพบได้ชัดเจน และสามารถยืนยันปัญหาควบคู่กับการวิเคราะห์กราฟ Time wave formT ในการตรวจสอบเครื่องจักรหากมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากกราฟ Time Waveform หรือกราฟ FFT วิเคราะห์จาก พารามิเตอร์ เช่น ค่าความเร็ว ความเร่ง ค่าแรง G และ DEF อีกทั้งยังมี AI ในการช่วยวิเคราะห์ปัญหาพร้อม ฟันธงปัญหา จะช่วยในการประกอบการตัดสินใจจากผู้วิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
เครื่องจักรจะต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก 2 อย่าง คือ
ในระหว่างเครื่องจักรทำงานไปสักระยะหนึ่ง แน่นอนว่าเครื่องจักรต้องเริ่มมีปัญหา หรือเริ่มมีการชำรุดสึกหรอ ปัญหาทั้งหมดนั้นล้วนเกิดจาก ชิ้นส่วนของเครื่องจักรหมุนนั้นก็คือ “เพลา” กับ “ลูกปืน” นั้นเอง
เราจะมีการเฝ้าระวังหรือตรวจสอบปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการใช้เครื่องวัด Vibration หรือ เครื่องวัดความสั่นสะเทือน FALCON เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตรวจสอบปัญหาให้เราได้แบบอัตโนมัติ
การทำ Wireless online vibration monitoring
การทำ Wireless online vibration monitoring คือ การที่เรานำ Sensor มาวัดความสั่นสะเทือนโดยติดตั้งไปที่เครื่องจักรตลอดเวลา โดยค่าความสั่นสะเทือนนั้นจะถูกเก็บมาวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลด้วยรูปแบบ Time Waveform Analysis
การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition based maintenance) เป็นหนึ่งในการบำรุงรักษา เครื่องจักร เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักร โดยจะมีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสถานะต่างๆของเครื่องจักร เช่น Unbalanced , Bearing Defect คอยเฝ้าระวังในเรื่องของความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร ช่วยให้เราสามารถตรวจสถานะความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรได้ รวมถึงในการวางแผนที่จะซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยอ้างอิงจาก สถานะที่ตัว เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลมา โดยตัวข้อมูลที่ได้มานั้น จะบ่งบอกถึงความไม่พร้อมใช้งานในด้านต่างๆ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักรของเรา ดังนั้นเราจึงควรศึกษาเรื่อง ความสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (Vibration) ให้ได้รับความรู้ได้อยากถูกต้อง
Application Acoem Machine Defender
หากคุณเคยเจอปัญหาในการจัดตั้งศูนย์เพลาเหล่านี้
แบริ่งแตกเสียหายก่อนกำหนด
ค่า Vibration เพิ่มขึ้น
แรงเสียดทานเพิ่มขึ้น ทำให้สูญเสียพลังงานมากขึ้น
มีเสียงรบกวนเพิ่มขึ้น
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป หากใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานทำให้ได้ค่าที่แม่นยำ
ดังนั้นเราจึงควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น Maintenance ก่อนกำหนด และยังช่วยประหยัดเวลาให้กับทีมช่างและโรงงานได้อีกด้วย
Bearing Defender
เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน ตรวจสอบปัญหาสุขภาพเครื่องจักร
ป้องกันการ Breakdown
– รู้ผลการวิเคราะห์ เพียง 10 วินาทีเท่านั้น จาก Sensor ไร้สาย 3 แนวแกน
– AI (Accurex) ที่แจ้งผลอัตโนมัติอ่านง่าย (ZYXtrum FFT spectrum 3 แกน)
– ฟังก์ชั่นการถ่ายรูป ฟังเสียงตลับลูกปืน ยืนยันความถี่
สาเหตุของปัญหาของปัญหาความสั่นสะเทือน
จะดีแค่ไหน
ถ้าหากมีเครื่องวัดการสั่นสะเทือนแบบไร้สาย ( Wireless Vibration ) vibration ให้อัตโนมัติ
FALCON Smart Portable Vibration Analyzer
เครื่องมืออัจฉริยะที่สามารถช่วยให้คุณทราบปัญหาที่แท้จริงของเครื่องจักรทั้ง 3 แนวแกน ภายในเวลาไม่กี่วินาที
“Eagle” คือเครื่องมือ Wireless Vibration ที่ใช้สำหรับวัดค่า Vibration แบบไร้สาย
และส่งข้อมูลแบบออนไลน์ผ่าน LAN / WiFi / 4G
ดังนั้น เรา ไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้างานด้วยตนเองอีกต่อไป เพียงแค่มี Computer เชื่อมต่อกับเครือข่าย ก็สามารถ Monitor และวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรจากที่ไหนก็ได้ เหมาะกับจุดที่คนเข้าถึงได้ยากและมีความอันตรายสูง
ลดความเสี่ยงของคนทำงานในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักร ที่มากกว่าไปกว่านั้น Eagle ยังสามารถเก็บค่าได้ค่อนข้างถี่ ชั่วโมงละ 1 ครั้ง แบตเตอรี่ใช้งานได้ถึง 5 ปี และยัง Set ค่า alarm vibration ได้อีกด้วย เมื่อเครื่องจักรมีปัญหา Report สามารถส่งไปที่ Email ได้ทันที
Read Our Latest News
News & Articles
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.