ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

ประเภทของเครื่องจักร และ วิธีดูแลรักษา

เครื่องจักร คืออะไร มีกี่ประเภท?

เครื่องจักร (Machinery) คืออุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลวัสดุหรือการทำงานต่างๆ โดยมักจะมีการใช้พลังงานหรือพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน สามารถแบ่งเครื่องจักรออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน หรือวัตถุประสงค์ที่ใช้งาน บางเครื่องจักรใช้ในการประมวลผลวัสดุเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น การกัด, การเจาะ, การเจียระไน และการเชื่อม ในขณะที่เครื่องจักรบางชนิดใช้ในการขนส่งวัสดุหรือท่องเที่ยว เช่น รถไฟ, เครื่องบิน และเรือ

ประเภทของเครื่องจักร

เครื่องจักรนั้น มีหลายประเภท หลายการใช้งาน ซึ่ง จะแบ่งตามรูปแบบการใช้งานในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เช่น การทำงานไม่ซับซ้อน อาจจะใช้เครื่องจักรที่เป็นรูปแบบ รอก , เชือก, ฟันเฟืองเล็กน้อย เป็นต้น ขยับความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมา ก็จะเป็นพวกที่ทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์เช่น เครื่องจักรในรูปแบบ PLC , เครื่องจักรประเภทมอเตอร์ , เครื่องจักรประเภทไฮดรอลิค เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องจักรในแต่ละประเภท ยกตัวอย่างมา ดังนี้

    • เครื่องจักรเจาะ (Drilling Machines): ใช้สำหรับการเจาะรูในวัสดุ เช่น เหล็ก, ไม้, หรือพลาสติก
    • เครื่องจักรกัด / เจาะ (Milling Machines): ใช้สำหรับกัดวัสดุเพื่อทำให้เป็นรูปร่างที่ต้องการ
    • เครื่องกลึง (Lathes): ใช้สำหรับการหมุนวัสดุเพื่อให้ได้รูปร่างที่ต้องการ
    • เครื่องจักรเจียระไน (Turning Machines): ใช้สำหรับการกัดออกจากวัสดุโดยมีการหมุนตัวเครื่อง
    • เครื่องจักรใช้แรงอัดอัด (Presses): ใช้ในการอัดวัสดุเข้าด้วยกัน เช่น การอัดแหวนโลหะ
    • เครื่องสำหรับการเกษตร (machines for agriculture): ใช้เป็นตัวช่วยในการทำงานด้านการเกษตร เช่น รถไถ ,รถเกี่ยว ,เครื่องแปรรูปต่างๆ
    • เครื่องจักรผสมผสาน (Multipurpose Machines): สามารถใช้งานหลายๆ ฟังก์ชั่นได้ในเครื่องเดียว เช่น เครื่องจักรมิลลิ่งและเจา

เครื่องจักร CNC (Computer Numerical Control)

   เครื่องจักร CNC คือ (Computer Numerical Control) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง  เครื่องจักรประเภท CNC สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยมือ และมักนิยมใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การตัด, การเจาะ, การสกัด  นอกจากนี้ ยังสามารถให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของงาน คุณภาพในการผลิตและลดการสูญเสียในการผลิตได้มากขึ้นด้วย

เครื่องจักรสำหรับทำเหมือง (Mining machinery)

เป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เพื่อการทำเหมืองแร่และการดูดดึงวัสดุซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่และเครื่องหิน การใช้งานเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเหมืองแร่มักเกี่ยวข้องกับงานด้านการขุดเจาะ, การขนส่งวัสดุ, การบดหรือบดละเล่น, การคัดแยกวัสดุ, และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดดึงแร่และวัสดุซึ่งอาจใช้ทั้งเครื่องจักรพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับงานเหล่านี้และเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง บางประเภทของเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ประกอบด้วยเครื่องจักรเจาะแร่, เครื่องปรับเปลี่ยนขนาดของแร่, และเครื่องทำความสะอาดแร่ เครื่องจักรเหล่านี้มักมีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งเพื่อทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในเหมืองแร่

การดูแลรักษาเครื่องจักร

เครื่องมือหรือเครื่องจักร แต่ละชนิดจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา และตรวจสอบความพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องมือมีสภาพพร้อมสำหรับการใช้งาน การบำรุงรักษาเครื่องจักรโดยปกติจำเป็นต้องมีทีมงานที่เข้าใจเครื่องจักรเฉพาะทาง โดยเฉพาะกับเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนสูง หรือแม้แต่เครื่องจักรทั่วไป ก็จำเป็นที่ต้องมีการบำรุงรักาษาอย่างสม่ำเสมอ การให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรเป็นประจำจะช่วยยืดอายุการใช้งาน ลดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลร้ายแรงต่อการทำงานเช่น การสูญเสียทั้งบุคลากร หรือ ต้องหยุดการทำงาน (Breakdown Maintenance)

วิธีการดูแลรักษาซ่อมบำรุงเครื่องจักร

    • การตรวจสอบสภาพ: ควรตรวจสอบสภาพเครื่องจักรก่อนใช้งานทุกครั้ง มองหาสิ่งผิดปกติ เช่น เสียงดังผิดปกติ สั่นสะเทือน รอยรั่ว
    • การทำความสะอาด: ทำความสะอาดเครื่องจักรหลังใช้งานทุกครั้ง เช็ดคราบน้ำมัน ฝุ่นละออง เศษวัสดุ
    • การหล่อลื่น: หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนด
    • การตรวจเช็คระดับน้ำมัน: ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันไฮดรอลิก น้ำมันหล่อลื่นต่างๆ
    • การเปลี่ยนชิ้นส่วน: เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
    • การปรับแต่ง: ปรับแต่งเครื่องจักรให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
    • การบันทึกข้อมูล: บันทึกข้อมูลการตรวจสอบ การซ่อมแซม การเปลี่ยนชิ้นส่วน

ประเภทของการบำรุงรักษา

    • การบำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance): ทำการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
    • การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance): ทำการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดปัญหา
    • การบำรุงรักษาแบบตามสภาพ (Condition-based Maintenance): ทำการบำรุงรักษาตามสภาพการใช้งาน

    Planned Maintenance : การบำรุงรักษาตามแผน

       การบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้มีการจัดทำเอกสารและกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้า โดยจุดมุ่งหมายของการบำรุงรักษาตามแผนคือ ลดเวลาหยุดทำงาน (Machine Downtime) โดยต้องมีการวางแผนงานและระยะเวลาที่เข้มงวด  ในตารางงานนั้นต้องมีความชัดเจนว่า ชิ้นส่วนใดจะพังและควรเปลี่ยนตามรอบ เช่นการเปลี่ยนลูกปืนเพลา และชิ้นส่วนใดจะได้รับการบำรุงรักษาตามเวลาที่กำหนดไว้ ผ่านการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 

      Zero Breakdown มีปัจจัยในการป้องกันหลักๆแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ  คือ Autonomous Maintenance และ Planned Maintenance  และประเภทการบำรุงรักษาตามแผนงาน Planned Maintenance สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

    PM     : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : เป็นธำรงรักษาเครื่องจักรจะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ

    DM     : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน) : เป็น ธำรงรักษาของเครื่องจักรหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การหล่อลื่น , การขันแน่น , การปรับแต่ง , การตรวจสอบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อตรวจวัดความเสื่อมสภาพ

    BM      :  Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง) : เป็นการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย ที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและมักจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง

    TBM    : Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา) : เป็นการบำรุงรักษาที่ดำเนินการเป็นรอบเวลาที่กำหนดตามคาบเวลา

    CBM    : Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) : เป็นการบำรุงรักษารูปแบบกำหนดต่อสภาพพยากรณ์การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเครื่องจักร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยเครื่อง แล้วทำการคาดคะเนแนวโน้มตามความเป็นไปของการเสื่อมสภาพ

    PdM    : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์) : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆเพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง

    การทำการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำมัน (Oil analysis) 

    กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบ CMT’s oil test kit  ให้ผู้ใช้เครื่องจักรที่มีการหล่อลื่นสามารถตรวจสอบเครื่องจักรด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในราคาที่เข้าถึงได้ ชุดทดสอบน้ำมันเปิดโอกาสให้คุณได้ใช้ผลทดสอบน้ำมันที่จะได้รับในเวลาไม่กี่นาทีเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการซ่อมเครื่องจักรนั้นๆ ช่วยยืนยันว่าเครื่องจักรที่สำคัญนี้จะยังสามารถทำงานได้ต่อเนื่องหรือควรวางแผนการซ่อมเพื่อป้องกันเครื่องจักรหยุดโดยไม่พึงประสงค์ ใช้ความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์น้ำมันเพื่อทำความเข้าใจสภาพเครื่องจักรของคุณ เลือกใช้ชุดทดสอบน้ำมันและพารามิเตอร์ที่ต้องการทราบ จะใช้แยกหรือรวมกันในชุดทดสอบเดียวก็สามารถทำได้

    เครื่องตรวจสอบรอยรั่ว Acoustic Imager | Cry Sound CRY2624 เป็นเครื่องมือที่สามารถ กันระเบิดได้ เหมาะสำหรับ อุตสาหกรรม ปิโตเคมี และ อุตสาหกรรม ที่ใช้งานหนัก

    การวิเคราะห์ การรั่วไหล

      เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชันการวัดการรั่วไหล กล้องจะแสดงปริมาณการรั่วไหลและการสูญเสียตลอดจน ระดับการสูญเสียอย่างต่อเนื่อง

    Analytics and reports

    การประมวลผลตามส่งข้อมูล ในรูปแบบ เทมเพลตและการบันทึกข้อมูล data, waveforms, spectra, spectrograms ได้รับการสนับสนุนโดยซอฟต์แวร์เครื่องมือวิเคราะห์รายงาน CRYSOUND ซึ่งสร้างโปรโตคอลที่แก้ไขได้ตามมาตรฐาน ISO 50001 ในรูปแบบ Excel

    Laser shaft alignment AT400

    เครื่องมือตั้งศูนย์เพลา 2 แกน ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะมาสร้างมาตรฐานใหม่ของความแม่นยำและประสิทธิภาพ สำหรับการใช้งานด้านการตั้งศูนย์เพลาต่างๆ

        • เพิ่มพลัง และเสริมมาตราฐาน การผลิตและประสิทธิภาพด้วยเซ็นเซอร์ขั้นสูงและการวัดแบบ 2 แกนที่แม่นยำ ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
        • อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้ง่าย เพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน พึงพอใจมากยิ่งขึ้น
        • ขอแนะนำเซ็นเซอร์ 2 แกน ที่บางที่สุดในตลาด โดยมีน้ำหนัก 306 กรัม ด้วยช่วงการวัดที่ 20 เมตร ปฏิวัติการใช้งานที่มีความแม่นยำสูง

    เซ็นเซอร์เพิ่มการตรวจจับขนาดใหญ่ขนาด : 20×20 มม. และมีความละเอียดสูง 0.001 มม. ทำให้เหมาะสำหรับการตรวจจับตำแหน่งที่แม่นยำและการใช้งานการวัดต่างๆ

    ACOEM : Laser shaft alignment AT400

    Read Our Latest News

    News & Articles

    การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ คืออะไร ต่างกันอย่างไร คาดการณ์ปัญหาได้แม่นยำ ลด downtime และซ่อมเฉพาะจุดที่จำเป็น ทำให้ประหยัดต้นทุน
    FOREVER AND A DAY TECHNOLOGY

    Product