รายละเอียดเพิ่มเติม
- เซ็นเซอร์วัดความสั่นสะเทือนพร้อมหัวแม่เหล็ก
- สายเซ็นเซอร์ยาว 100 เซ็นติเมตร
- ช่วงความถี่ 10Hz ถึง 1kHz
- ความแม่นยำ ±(5% + 2 digits)
- โหมดในการวัดแบบ RMS หรือ Peak Value
- เก็บข้อมูลได้ 500 ข้อมูล
- ฟังชั่น Data Hold
- ปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งาน
- แหล่งพลังงาน 9V แบตเตอรี่ หรือ เอซี อะแดปเตอร์ 220V
ข้อมูลทางเทคนิค
- ความเร่ง (Acceleration)
ช่วงการวัด: 2 to 656 ft/s2; 0.5 to 199.9 m/s2; 0.05 to 20.39 g
ความแม่นยำ: ±(5% +2 Digits) @ 80 and 160 Hz
จุดสอบเทียบ: 50 ft/S2 (160 Hz) - ความเร็ว (Velocity)
ช่วงการวัด: 0.02 to 7.87 in/s; 0.05 to 19.99 cm/s; 0.5 to 199.99 mm/s
ความแม่นยำ: ±(5% +2 Digits) @ 80 and 160 Hz
จุดสอบเทียบ: 50 mm/s (160 Hz) - การกระจัด (Displacement)
ช่างการวัด: 0.078 inch; 1.999 mm
ความแม่นยำ: ±(5% +2 Digits) @ 80 and 160 Hz
จุดสอบเทียบ: 0.141 mm (160 Hz)
- ความเร่ง (Acceleration)
เครื่องวัดความสั่นสะเทือน vibration meter
ความสั่นสะเทือน (Vibration) คือ การแกว่งหรือการสั่นของวัตถุรอบๆ จุดสมดุล เช่น การแกว่งของลูกตุ้ม การสั่นสะเทือนของปั๊มน้ำ เป็นต้น งานอุตสหกรรม 1 แห่ง สามารถใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนร่วมกันกับแผนกอื่นๆได้ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น แผนกความปลอดภัยในการวัดความสั่นสะเทือนเพื่อบ่งบอกถึงความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร, แผนกซ่อมบำรุงในการป้องกันการ Breakdown , และแผนกอื่นๆ ที่ต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรต่างๆ
ซึ่งความสั่นสะเทือนที่มากเกินปกตินั้น หากเกิดความละเลย ไม่มีการตรวจเช็คจนเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดกับเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนภายใน ผลลัพธ์ที่ได้ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม หรือเกิดการ Breakdown ทำให้เกิดความล่าช้าต่อการผลิต ร้ายแรงที่สุดคือ ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เลยก็ยังมี โดยเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vivration Meter) สามารถช่วยในงานตรวจสอบและซ่อมบำรุง เพื่อให้ทราบปัญหาของเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย และไม่จำเป็นต้องเข้าไปเสี่ยงในพื้นที่อันตราย
หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนหลักๆ มี 3 หน่วยคือ Displacement ,Velocity ,Acceleration
การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)
มักใช้ในการวัด การสั่นสะเทือน ของรอบเครื่องจักร จากระยะเคลื่อนที่จุดแรก ไปถึงจุดอ้างอิงเท่าไหร่ โดยวัดแบบเต็มคลื่น (Peak to Peak)
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือนิ้ว(inch)
มักใช้กับเครื่องจักรที่มีรอบต่ำๆ ไม่เกิน 1200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ไม่เกิน 20 Hz |
การวัดความเร็ว (Velocity)
มักใช้ในการวัด การความเร็วรอบของเครื่องจักร โดยวัดแบบ RMS
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที (mm/s)
ใช้กับเครื่องจักรที่มีความเร็วรอบมากว่า 1,200 รอบ/นาที หรือการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ระหว่าง 20 Hz-1000 Hz |
การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)
มักใช้ในการวัด การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการเคลื่นที่
นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาทีกำลังสอง (mm/s2)
มักใช้วัดกับการสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงตั้งแต่ 10 kHz ขึ้นไป |
Read Our Latest News
News & Articles
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.