ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร (Condition Monitoring)

        ตามกฎหมายแล้ว เครื่องจักรต้องตรวจสภาพตามการใช้งานประจำปี แยกเป็นทั้งหมด 7 ชนิด ตามกฎหมาย  กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564   ดังนั้น การที่จะเข้ามาใช้งานหรือตรวจสอบเครื่องจักรนั้นๆแล้ว จำเป็นต้องมีใบรับรองเพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องจักร  ดูว่าเครื่องจักรประเภทต่างๆที่ได้นำเข้ามาทำงานนั้นมีสภาพความพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ชนิดเครื่องจักรที่ต้องตรวจรับรองประจำปี

1. เครื่องจักรที่ใช้ในงานยกและขนย้าย เช่น รถยก โฟลค์ลิฟท์ ฯ
2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินและงานถนน รถแทรกเตอร์ เครื่องจักรกล สำหรับงานขุด ฯ
3. เครื่องจักรที่ใช้ในงานคอนกรีต ฯ
4.เครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างเครื่องตอกเสาเข็ม เครื่องจักรที่ใช้สำหรับงานเจาะเสาเข็ม
5.เครื่องจักรที่ใช้ในงานขุดอุโมงค์ งานเจาะ ฯ
6.เครื่องจักรที่ใช้ในงานรื้อถอนทำลาย เครื่องสกัด คอนกรีตเบรกเกอร์
7. เครื่องจักรอื่นที่อำจก่อให้เกิดอันตรำยจำกกำรใช้งำนตำมที่อธิบดีประกำศกำหนด

กฎกระทรวง คลิก!

เครื่องจักรที่มีคุณภาพ จะต้องประกอบด้วย

1. มีการออกแบบที่ดีและตรงตามความประสงค์ต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง แม่นยำ รวมทั้งสามารถทำงานได้เต็มกำลังตาม ความสามารถที่ออกแบบไว้
2. มีการผลิตหรือสร้าง ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน สามารถทำงานได้นานที่สุดและตลอดเวลา
3. มีการติดตั้งในสถานที่ที่เหมาะสม และสะดวกต่อการใช้งาน
4. มีการใช้งานเป็นไปตามคุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง
5. มีระบบการบำรุงรักษาที่ดี เนื่องจากเครื่องมือ เครื่องใช้ เมื่อถูกใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพ ชำรุด สึกหรอ
เสียหาย ขัดข้อง ดังนั้นเพื่อให้อายุการใช้งานของเครื่องมือเครื่องใช้ ยาวนานสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของการของผู้ใช้

การตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน (Oil Quality Inspection)

    เพราะน้ำมันหล่อลื่นเปรียบเสมือนเลือดที่สูบฉีดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร ซึ่งการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำมันจะสามารถบ่งชี้สมรรถนะและสภาพของเครื่องจักร เพื่อเพิ่มความพร้อมในการใช้งานของเครื่องจักร และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่เกิดจากน้ำมันหล่อลื่น ความสูญเสียโอกาสจากการหยุดเดินเครื่องของเครื่องจักร และอื่นๆ

การตรวจวิเคราะห์น้ำมันหลังการใช้งาน (Used Oil Analysis)

    สามารถบอกถึงสมรรถนะ หรือสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ สภาวะการสึกหรอ การเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นและสิ่งสกปรกปนเปื้อนต่างๆ โดยช่างซ่อมบำรุงหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องทำการเก็บตัวอย่างน้ำมัน เพื่อตรวจสอบหาคุณสมบัติของสารหล่อลื่นและทำการวิเคราะห์เศษโลหะ เพื่อหาสาเหตุของความเสียหายและระดับความรุนแรง ซึ่งการตรวจวิเคราะห์น้ำมันหลังการใช้งานจะทำให้สามารถใช้น้ำมันได้อย่างคุ้มค่าเครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้นสามารถลดต้นทุนโดยรวมของเครื่องจักรได้

ประเภทของการบำรุงรักษา

1. Breakdown Maintenance (การบำรุงรักษาโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย)
2. Planned/Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน)
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน)
4. Proactive maintenance (เป็นแนวคิดใหม่ในวงการบำรุงรักษา โดยการแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา)

อีกหนึ่งวิธีในบำรุงรักษาเชิงคาดการ (Predictive Maintenance)

   การบำรุงรักษาตามสภาพเครื่องจักร (Condition Maintenance) ก็คือการวิเคราะห์ตรวจสอบน้ำมัน (Oil Analysis)

ซึ่งจะช่วยทำให้รู้ว่าน้ำมันหล่อลื่นสามราถใช้จะงานต่อได้หรือช่วยตรวจสภาพของเครื่องจักรได้ ซึ่งการวิเคราะห์ตรวจสอบน้ำมันนั้นจะแบ่งการตรวจสอบหลักอยู่ 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะใช้วิธีการตรวจสอบไม่เหมือนกัน

1.Contaminate ตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำมัน เช่น ฝุ่น (Particle contamination) หรือ ความชื้น (Moisture)
2.chemistry ตรวจสอบสภาพของน้ำมัน เช่น ความหนืด (Viscosity) ความเป็นกรด,เบส หรือชนิดของน้ำมัน
3.Wear ตรวจสอบสภาพของเครื่องจักร ดูความสึกหรอ เช่นความสึกหรอของฟันเฟือง (Gear Wear)

2 ตัวช่วยพลังสุดล้ำสมัย ถูกใจสายวิศวกรที่สุดคือ

    ใช้งานง่าย ผ่านแอปได้เลย แค่ปลายนิ้ว เท่านั้น 
สามารถดาวน์โหลดผ่าน IOS และ Android 

    มาพร้อมกับโปรฯสุดคุ้ม สำหรับคุณ 
AT-100 + Bearing defender
แถมฟรี! Tablet ไปเลยวันนี้ และส่วนลดให้อีกมากมาย
รวมมูลค่าทั้งหมดมากกว่า 30,000 บาท
.
คุ้มสุด บวกทั้งประสิทธิภาพการทำงาน
กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สะดวก ปลอดภัยกว่า
ใครอยากได้ความรู้ เทคนิคดีๆ กับเครื่องมือวิศวกรยุคใหม่

Read Our Latest News

News & Articles

Reliability Centered Maintenance (RCM) เป็นกระบวนการวางแผนและดำเนินการบำรุงรักษาที่เน้นการเพิ่มความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ คืออะไร ต่างกันอย่างไร คาดการณ์ปัญหาได้แม่นยำ ลด downtime และซ่อมเฉพาะจุดที่จำเป็น ทำให้ประหยัดต้นทุน
FOREVER AND A DAY TECHNOLOGY

Product