วิธีการ ตั้ง Alignment ง่ายๆ ภายใน 5 นาที.
Shaft Aligntment AT- 400
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Alignment คืออะไร ?
ความสำคัญของการจัดแนวเพลา (Shaft Alignment) เป็นขั้นตอนสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่หมุนได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดตำแหน่งเพลาของเครื่องจักรให้ขนานและอยู่ในแนวเดียวกันอย่างแม่นยำ การจัดแนวเพลาที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ปัญหาจากการสั่นสะเทือน ,การสึกหรอของตลับลูกปืน และความเสียหายที่ส่งผลต่อเครื่องจักร
ผลกระทบของ Shaft Alignment การตั้งศูนย์เพลาที่ ไม่ได้คุณภาพจะส่งผลร้ายแรงกับเครื่องจักร ซึ่งรวมถึง:
- เกิดการสั่นสะเทือนที่เพิ่มขึ้น: การจัดแนวเพลาที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรและส่วนประกอบโดยรอบ
- เกิดการสึกหรอของตลับลูกปืน: การจัดแนวเพลาที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มแรงลงบนตลับลูกปืน ซึ่งนำไปสู่การสึกหรอที่เพิ่มขึ้นและอายุการใช้งานที่ลดลง
- เกิดความล้มเหลวของเครื่องจักร: การจัดแนวเพลาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความล้มเหลวของเครื่องจักรได้ เนื่องจากการสั่นสะเทือนที่มากเกินไปและการสึกหรอของตลับลูกปืน
- การสิ้นเปลืองพลังงานที่เพิ่มขึ้น: การจัดแนวเพลาที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มแรงเสียดทาน ซึ่งนำไปสู่การสิ้นเปลืองพลังงานที่เพิ่มขึ้น
Pre-Alignment หรือ การตรวจสอบความพร้อมเครื่องจักรก่อนการตั้งศูนย์เพลา ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยให้ท่านป้องกันความผิดพลาด จากข้อจำกัดในงาน Shaft alignment ซึ่งส่วนใหญ่มักถูกละเลย จนทำให้เกิดการสูญเสียที่ไม่ควรเกิด
การตั้ง Alingment ง่ายๆ ใน 5 นาที
Pre alignment - คืออะไร ?
การตั้ง Alignment คืออะไร สำคัญอย่างไร และอะไรคือเหตุผลที่ทีมซ่อมบำรุงควรทำ ก่อนการตั้งศูนย์เพลา (Shaft Alignment)
Pre-Alignment หรือ การตรวจสอบความพร้อมเครื่องจักรก่อนการตั้งศูนย์เพลา ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยให้ท่านป้องกันความผิดพลาด จากข้อจำกัดในงาน Shaft alignment ซึ่งส่วนใหญ่ถูกละเลย จนทำให้เกิดการสูญเสียที่ไม่ควรเกิด อันได้แก่
Pre Alignment สำคัญยังไงนะ ?
ตรวจสอบความพร้อมเครื่องจักรก่อนการตั้งศูนย์เพลา ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยให้ท่านป้องกันความผิดพลาด จากข้อจำกัดในงาน Shaft alignment ดังนี้
• การหนีศูนย์ของเพลา หรือ เพลาแกว่ง Run Out
• ความโก่งงอของเพลา Bent shaft
• ค่าช่องว่างของตลับลูกปืน Bearing clearance
• สภาพขามอเตอร์ไม่ได้ระดับ Soft foot
การตั้งศูนย์เพลาคืออะไร
การตั้งศูนย์เพลา ว่ากันตามทฤษฎีคือการทำให้ศูนย์การหมุน (Center of Rotation) ของเพลาฝั่งขับ และเพลาฝั่งถูกขับนั้น อยู่ในตำแหน่งเดียวกันขณะที่เพลาหมุน โดยการตั้งศูนย์เพลาจะทำขณะที่เครื่องจักรนั้นหยุดนิ่ง เพื่อให้ได้ค่าการเยื้องศูนย์ที่ยอมรับได้ของเครื่องจักร
โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ก็มีวิธีการตั้งศูนย์เพลาอยู่หลายวิธี ตั้งแต่วิธีการใช้ไม้บรรทัด และฟีลเลอร์เกจ ซึ่งมีความแม่นยำที่น้อย และยังต้องการประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานที่สูงมากอีกด้วย อีกวิธีคือ การใช้ไดอัลเกจ (Dial gauge) ซึ่งมีความละเอียดมากขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องมีการฝึกฝนการใช้งานจนเชี่ยวชาญก่อน และยังมักพบปัญหา Bar Sag ที่โน้มลงหรือความฝืดของชิ้นส่วนต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้อ่านค่าเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งปัจจุบันนี้ การใช้เครื่องมือตั้งศูนย์เพลาด้วยเลเซอร์นั้นก็เป็นอีกวิธี ที่มีความแม่นยำสูง ใช้งานได้ง่าย และรวดเร็วกว่าไดอัลเกจมาก
ส่วนสำคัญอีกส่วนของการตั้งศูนย์เพลาก็คือ
การเช็คค่า Soft foot , ทำความเข้าใจกับแผ่นชิม , การขยายตัวของเครื่องจักรที่เกิดจากความร้อน และอื่นๆอีกมากมาย สามารถติดตามพวกเราได้ที่ Fanpage : FAADTECH
SoftCheck™
ตรวจสอบการมีอยู่ของ Soft foot ได้อย่างง่ายดายด้วยคุณสมบัติ SoftCheck™ เพื่อจัดตำแหน่งที่เชื่อถือได้
Softfoot : คือสภาวะของเครื่องจักรทั้ง 4 ข้างไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน เกิดจากขา หรือแท่นวาง ที่ชำรุจ หรือสึกหรอไปตามการใช้งาน มาสารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ง่ายๆ จากคลิป VDO ได้เลยครับ
ตั้งศูนย์ไปแล้วทำไมเครื่องจักรถึงยังสั่น?
แผ่นชิม คืออะไร ?
ACOEM : Laser shaft alignment AT400
Laser shaft alignment AT400
เครื่องมือตั้งศูนย์เพลา 2 แกน ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่จะมาสร้างมาตรฐานใหม่ของความแม่นยำและประสิทธิภาพ สำหรับการใช้งานด้านการตั้งศูนย์เพลาต่างๆ
- เพิ่มพลัง และเสริมมาตราฐาน การผลิตและประสิทธิภาพด้วยเซ็นเซอร์ขั้นสูงและการวัดแบบ 2 แกนที่แม่นยำ ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
- อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้ง่าย เพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งาน พึงพอใจมากยิ่งขึ้น
- ขอแนะนำเซ็นเซอร์ 2 แกน ที่บางที่สุดในตลาด โดยมีน้ำหนัก 306 กรัม ด้วยช่วงการวัดที่ 20 เมตร ปฏิวัติการใช้งานที่มีความแม่นยำสูง
เซ็นเซอร์เพิ่มการตรวจจับขนาดใหญ่ขนาด : 20×20 มม. และมีความละเอียดสูง 0.001 มม. ทำให้เหมาะสำหรับการตรวจจับตำแหน่งที่แม่นยำและการใช้งานการวัดต่างๆ
Read Our Latest News
News & Articles
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.