เครื่องวัดการสั่นสะเทือนแบบไร้สาย ( Wireless Vibration )
Wireless online vibration monitoring คืออะไร ?
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน ถ้าพูดถึงระบบ Smart factory หรือ โรงงานสมัยใหม่ในยุค 4.0 ก็จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย ที่ช่วยในเรื่อง การบริหารงานให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ตั้งแต่ เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT (Internet of Things) เข้ามาเพื่อบริหารจัดการภายในโรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวก สร้างการทำงานที่เป็นระบบแบบอัตโนมัติ (Automation)
Wireless Vibration
ยกระดับคุณภาพงานภายใน และช่วยให้การใช้กำลังคนที่น้อยลงแต่วันนี้เราขอมาแนะนำเทคโนโลยี ที่สามารถ วัดสุขภาพเครื่องจักร และสามารถรักษา Reliability ของโรงงานได้ดีมากๆนั้นคือ การทำ Wireless online vibration monitoring กัน ซึ่งถือเป็นตัวช่วยชั้นนำที่ บริษัท และ องค์กรใหญ่ๆในไทยได้ใช้กัน มีโปรแกรม เฉพาะทางที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น สะดวก และรวดเร็ว
การทำ Wireless online vibration monitoring
การทำ Wireless online vibration monitoring คือ การที่เรานำ Sensor มาวัดความสั่นสะเทือนโดยติดตั้งไปที่เครื่องจักรตลอดเวลา โดยค่าความสั่นสะเทือนนั้นจะถูกเก็บมาวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลด้วยรูปแบบ Time Waveform Analysis
การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition based maintenance) เป็นหนึ่งในการบำรุงรักษา เครื่องจักร เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักร โดยจะมีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าสถานะต่างๆของเครื่องจักร เช่น Unbalanced , Bearing Defect คอยเฝ้าระวังในเรื่องของความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร ช่วยให้เราสามารถตรวจสถานะความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรได้ รวมถึงในการวางแผนที่จะซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดยอ้างอิงจาก สถานะที่ตัว เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลมา โดยตัวข้อมูลที่ได้มานั้น จะบ่งบอกถึงความไม่พร้อมใช้งานในด้านต่างๆ ก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงแก่เครื่องจักรของเรา
Application Acoem Machine Defender
Wireless vibration คืออีกหนึ่งสิ่งที่สามารถรักษา Reliability ของโรงงานได้ดีมากๆ การทำ Wireless online vibration monitoring ถือเป็น Condition base maintenance และ Predictive maintenance รูปแบบหนึ่ง
การทำ Wireless online vibration monitoring คือ การที่เรานำ Sensor มาวัดความสั่นสะเทือนโดยติดตั้งไปที่เครื่องจักรตลอดเวลา โดยค่าความสั่นสะเทือนนั้นจะถูกเก็บตลอดเวลา และจะประมวลผลข้อมูลด้วยรูปแบบ FFT จากนั้นทำการส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ผ่านไปที่ Gateway หลังจากนั้น Gateway ส่งต่อไปที่หน้าจอ และเก็บข้อมูลที่ Computer, Server หรือ Cloud ต่อไป
Accurex เป็น AI จาก ACOEM ช่วยคุณวิเคราะห์ปัญหาเครื่องจักรสิ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา Unbalanced, Misalignment, Bearing Defect หรือปัญหาอื่นๆที่เกิดจาก Vibration ก็สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ
ปัจจุบันการวัดค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เราสามารถรู้ปัญหาของเครื่องจักรในปัจจุบันได้ก่อนที่จะพัง โดยสามารถแบ่งประเภทของระบบการวัดค่าความสั่นสะเทือนได้เป็น 3 ประเภทหลักๆตามความถี่ในการเก็บค่าได้ดังนี้
“Offline” เก็บค่าไม่ถี่มาก อาจจะเดือนละครั้ง อาทิตย์ละครั้ง โดยการให้คนถือเครื่องวัดความสั่นสะเทือนเข้าไปวัดที่หน้างาน เหมาะกับจุดที่ไม่มีอันตรายและเข้าถึงได้ง่าย
“Semi-Online” เก็บค่าค่อนข้างถี่ อาจจะวันละครั้ง ชม.ละครั้ง โดยจะมีลักษณะเป็นเซนเซอร์วัดค่าความสั่นสะเทือนแบบไร้สาย (Wireless sensor vibration) ติดไว้ที่หน้างานและดูข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ได้ เหมาะกับจุดที่คนเข้าถึงได้ยากและมีความอันตรายสูง หรือต้องการเก็บค่าให้มากกว่าเดิม
“Online” เก็บค่าแบบ Realtime ทุกวินาที เหมาะสำหรับเครื่องจักรที่สำคัญมากๆ โดยเป็นเซนเซอร์แบบมีสาย (Wireless sensor vibration) ติดไว้ที่หน้างานและดูข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ได้
เพราะฉะนั้นเราควรเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการของเรามากที่สุดเพื่อความคุ้มค่าสูงสุดในการใช้งาน
FAAD ของเรามีอุปกรณ์วัดค่าความสั่นสะเทือนจำหน่ายทั้งแบบ Offline (Falcon), Semi-Online (Eagle), Online (MVX) เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
หลักการทำงานของตัว Wireless Vibration - Acoem
เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ ทาง Acoem ได้ออกแบบระบบ Cloud สำหรับเก็บข้อมูลที่วัดได้จากเครื่องจักร ด้วยระบบ เทคโนโลยี AI (Accurex) อัจฉริยะที่พร้อมแจ้งผลอัตโนมัติทันที
อ่านง่าย รายงานผลแม่นยำ รวดเร็วแบบสุดขีด
ด้วยเซ็นเซอร์ไร้สาย 3 ทิศทาง (X,Y,Z) วัด 1 ครั้ง แสดงผลทั้ง 3 แกน horizontal , vertical ,axial
สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ครอบคลุม รวดเร็ว โดยจะบอกปัญหาตาม รูปภาพที่เข้าใจง่าย สามารถปรับแต่งตำแหน่งเครื่องจักร ใน Application Acoem (iOS, Android)ได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถเข้าใจตำแหน่งของเครื่องจักรได้ง่ายยิ่งขึ้น มีให้เลือกตั้งแต่ เก็บรายนาที รายชั่วโมง หรือรายเดือน
กราฟ FFT Spectrum คืออะไร
คือการวิเคราะห์กราฟเชิงความถี่ ซึ่งสามารถช่วยให้แยกแยะปัญหา หรือตรวจพบได้ชัดเจน และสามารถยืนยันปัญหาควบคู่กับการวิเคราะห์กราฟ Time wave formT ในการตรวจสอบเครื่องจักรหากมีเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากกราฟ Time Waveform หรือกราฟ FFT วิเคราะห์จาก พารามิเตอร์ เช่น ค่าความเร็ว ความเร่ง ค่าแรง G และ DEF อีกทั้งยังมี AI ในการช่วยวิเคราะห์ปัญหาพร้อม ฟันธงปัญหา จะช่วยในการประกอบการตัดสินใจจากผู้วิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
เช็คสภาพ Bearing ด้วยค่า Defect factor
การเก็บข้อมูล
จากนั้นทำการแปลงสัญญาณไร้สายส่งผ่านไปที่ Gateway หลังจากนั้น Gateway ส่งต่อไปที่หน้าจอ และเก็บข้อมูลที่ Cloud, Server หรือ Computer ที่ผู้ใช้ต้องการจะเก็บข้อมูล Vibation ต่างๆ
โดยตำแหน่งที่จะนำหัว Vibration sensor เข้าไปติดก็จะเป็นตำแหน่งของเครื่องจักรกลหมุน (Rotating machine) หรือตำแหน่ง มอเตอร์ที่ต้องการวัดสุขภาพเครื่องจักร, เนื่องจากในเครื่องจักร ตลับลูกปืน หรือ Bearing จะเป็นหัวใจหลักของเครื่องจักรที่ทำงานหนักสุด ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดความเสียหายก็มักจะแสดงอาการ (Indicate) ที่จุดนี้ก่อน
การติดตั้งเซ็นเซอร์ และ กราฟวิเคราะห์
“Eagle” คือเครื่องมือ Wireless Vibration ที่ใช้สำหรับวัดค่า Vibration แบบไร้สาย
และส่งข้อมูลแบบออนไลน์ผ่าน LAN / WiFi / 4G
ดังนั้น เรา ไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่หน้างานด้วยตนเองอีกต่อไป เพียงแค่มี Computer เชื่อมต่อกับเครือข่าย ก็สามารถ Monitor และวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรจากที่ไหนก็ได้ เหมาะกับจุดที่คนเข้าถึงได้ยากและมีความอันตรายสูง
ลดความเสี่ยงของคนทำงานในการเข้าไปตรวจสอบเครื่องจักร
ที่มากกว่าไปกว่านั้น Eagle ยังสามารถเก็บค่าได้ค่อนข้างถี่ ชั่วโมงละ 1 ครั้ง (แบตเตอรี่ใช้งานได้ถึง 5 ปี) และยัง Set ค่า alarm vibration ได้อีกด้วย เมื่อเครื่องจักรมีปัญหา Report สามารถส่งไปที่ Email ได้ทันที
จะดีแค่ไหน
ถ้าหากมีเครื่องวัดการสั่นสะเทือนแบบไร้สาย ( Wireless Vibration ) vibration ให้อัตโนมัติ
FALCON Smart Portable Vibration Analyzer
เครื่องมืออัจฉริยะที่สามารถช่วยให้คุณทราบปัญหาที่แท้จริงของเครื่องจักรทั้ง 3 แนวแกน ภายในเวลาไม่กี่วินาที
Read Our Latest News
News & Articles
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.
- By Admin Faadtech
- Comments are off for this post.