ยินดีต้อนรับสู่ ฟอร์เอฟเวอร์ แอนด์ อะเดย์ เทคโนโลยี 

  • จ-ศ: 8.00am to 5.00pm
Search

LubeRight

LubeRight เชื่อมต่อและควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์โดยตรง ตรวจสอบและบันทึกทุกรอบการอัดจารบีด้วยปริมาณจารบีที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของผู้ผลิตตลับลูกปืน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของตลับลูกปืน โดยข้อมูลประวัติทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้เพื่อการดูย้อนหลัง

แต่ละตลับลูกปืนจะมีหัวอัดจารบีสแตนเลสแบบกันกรดพร้อมช่องรหัสสัญญาณ (แบบฝังชิบ) ชิปมีหมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ระบบสามารถระบุจุดอัดจารบีของแต่ละตลับลูกปืนได้

แต่ละตลับลูกปืนจะมีหัวอัดจารบีสแตนเลสแบบกันกรดพร้อมช่องรหัสสัญญาณ (แบบฝังชิบ) ชิปมีหมายเลขประจำตัวที่ไม่ซ้ำกัน ทำให้ระบบสามารถระบุจุดอัดจารบีของแต่ละตลับลูกปืนได้

เมื่อรอบการอัดจารบีเสร็จสิ้น อุปกรณ์สื่อสารและเครื่องชาร์จจะเชื่อมต่อเครื่องวัดปริมาณจารบีกับคอมพิวเตอร์ เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลที่บันทึกไว้ระหว่างรอบการอัดจารบี จุดอัดจารบีที่พลาดไปจะถูกเน้น ตลับลูกปืนที่ได้รับจารบีที่เกินหรือขาดจะถูกบันทึก

นี่คือวิธีการทำงานของ LubeRight ในแต่ละขั้นตอน!

ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ “LUBERIGHT®” บนคอมพิวเตอร์ ส่วนการจัดการโปรแกรมประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละจุดการอัดจารบี เช่น ชื่อ กลุ่ม ปริมาณสารหล่อลื่น ความถี่ในการหล่อลื่น และหมายเลขงานสำหรับรอบนั้นๆ จุดอัดจารบีแต่ละจุดเชื่อมต่อกับช่องรหัสสัญญาณเฉพาะ จากนั้นติดตั้งหัวอัดจารบีพร้อมกับช่องรหัสสัญญาณที่ตลับลูกปืน เท่านี้ระบบก็พร้อมใช้งาน

ในการเริ่มรอบการอัดจารบี ให้เชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารและเครื่องชาร์จของเครื่องวัดปริมาณจารบีกับคอมพิวเตอร์ จากนั้นดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับการอัดจารบีรอบที่กำหนดไปยังเครื่องวัดปริมาณจารบี เมื่อต่อหัวอัดของเครื่องวัดปริมาณจารบีกับหัวอัดจารบี เครื่องวัดปริมาณจารบีจะระบุชื่อจุดและแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบว่าต้องอัดจารบีที่จุดนี้ในปริมาณเท่าใด

เมื่อรอบการอัดจารบีเสร็จสิ้น ให้เชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารและเครื่องชาร์จของเครื่องวัดปริมาณจารบีกับคอมพิวเตอร์และถ่ายโอนข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ เมื่อการถ่ายโอนข้อมูลเสร็จสิ้น รายการที่ดำเนินการอัดจารบีเสร็จสิ้นทั้งหมดจะแสดงเป็นสีเขียว รวมถึงแสดงรายการที่ยังดำเนินการไม่ครบถ้วนอย่างชัดเจน

Read Our Latest News

News & Articles

Reliability Centered Maintenance (RCM) เป็นกระบวนการวางแผนและดำเนินการบำรุงรักษาที่เน้นการเพิ่มความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์และเครื่องจักร โดยการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ คืออะไร ต่างกันอย่างไร คาดการณ์ปัญหาได้แม่นยำ ลด downtime และซ่อมเฉพาะจุดที่จำเป็น ทำให้ประหยัดต้นทุน